ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (กxยxส) 16x52x52 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.5 |
พระเกจิ : อธิษฐานจิตโดย พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังหลายรูป
ชื่อวัด : วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
พุทธคุณ : บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือน ปกปักรักษา คุ้มครองภัย ร่มเย็นเป็นสุข
เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อทองเหลืองขัดเงา
ขนาดวัตถุมงคล : 15x40x9 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 1.5 กก.
ประวัติ พระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใน ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
วัดแห่งนี้ เป็นที่ตั้งประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย
ทั้งนี้ วัดพระปฐมเจดีย์ ยังมี "พระร่วงโรจนฤทธิ์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำจังหวัดนครปฐม เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
มีชื่อเต็ม คือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2466 แต่ประชาชนทั่วไป เรียกขานว่า "หลวงพ่อพระร่วง" หรือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์"
เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ทำด้วยทองเหลืองหนัก 100 หาบ ศิลปะสุโขทัย สูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย
ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ พระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นไปข้างหน้า
มีพระอุทรพลุ้ย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในปี พ.ศ.2451
ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย
แต่ชำรุดมาก เหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์
และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2456 ณ วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
โดยมีผู้ออกแบบ คือ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร) จากนั้นได้อัญเชิญมาสู่จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2457
ทางรถไฟ ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราช วรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน
เมื่อครั้งอัญเชิญพระร่วงฯ มาประ ดิษฐานยังองค์พระปฐมเจดีย์ จำเป็นต้องแยกชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกันที่จังหวัดนครปฐม เสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2458
เมื่อ พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ได้เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ โดยเฉพาะองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย มีพุทธลักษณะงดงามต้องพระราชหฤทัย
แต่องค์พระชำรุดเสียหายมาก ยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรกับพระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาท พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นปางห้ามญาติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ
แล้วใช้ช่างปั้นขึ้นให้เต็มองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการหล่อปฏิสังขรณ์
และดำเนินการจัดหาช่างทำการปั้นหุ่นสถาปนาขึ้นให้บริบูรณ์เต็มองค์พระพุทธรูป เมื่อการปั้นพระพุทธรูปนั้นบริบูรณ์เสร็จ เป็นอันจะเททองหล่อได้แล้ว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูปพระองค์นั้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456
ซึ่งเป็นกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา หล่อเสร็จได้องค์พระสูงแต่พระบาทถึงพระเกศ 12 ศอก 4 นิ้ว แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญออกจากกรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2457
เพื่อไปประดิษฐานยังพระวิหารพระปฐมเจดีย์ เจ้าพนักงานจัดการตกแต่งต่อมาจนแล้วเสร็จในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ต่อมาวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2466
ระหว่างประทับแรม ณ พลับพลาเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระพุทธรูปองค์นี้ว่ายังไม่ได้สถาปนาพระนาม
จึงประกาศกระแสพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์
ณ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
สมทบทุนบำรุงเสนาสนะ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้