ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 4 x 5 x 2 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.01 |
พระเกจิ : ได้นำวัตถุมงคลเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกของวัดโสธรฯ และได้เสกที่สถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ มีพระเกจิชื่อดังหลายรูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ,พระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนทรเมโธ ผจล.เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร ,ประธานสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ
ชื่อวัด : พระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนฺทรเมโธ ผจล.วัดโสธรวราราม พระอารามหลวง,ประธานสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ (หลวงปู่ทวดบูรพา)
พุทธคุณ : ด้านเมตตา แคล้วคลาดปลอดภัย ค้าขายโชคลาภ
เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อทองแดง
ขนาดวัตถุมงคล : 1x2.3x0.5 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.
หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทราและประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง
จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่
บนพระเพลา ตำนานหลวงพ่อโสธรนั้น ตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ทราบตามที่เล่าต่อๆ กันมาแต่เพียงว่า ในจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของไทย
มีพระภิกษุสามองค์พี่น้อง เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานแล้วก็จำแลงกายเป็นพระพุทธรูป เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือก
มนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้ เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอยทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยน
และเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้ ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก ชาวบ้านก็พยายามฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่า
บางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดง อภินิหารในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน
คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป จวบจนองค์หนึ่งได้ลอยไปจนถึง แม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงครามชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนา
ขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือ ของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม
มาจนทุกวันนี้ องค์ที่สองได้ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์ เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วย ทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์
ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลง ส่วนหนึ่ง
จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็นวัดโสธร ประชาชนพลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้
ทรงคุณวิเศษ ผู้รู้คนหนึ่งสำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและวิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้
สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของ พระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลากขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกัน
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมาส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา
ประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่ แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า
สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง สมุทรปราการประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้น
ไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก อีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต
วัดบางพลีใหญ่ใน บางตำนานได้เล่าว่ามีพระพุทธรูปพี่น้องอยู่ห้าองค์ อีกสององค์คือ หลวงพ่อไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ หลวงพ่อ(ทอง)เขาตะเครา วัดเขาตะเครา
จังหวัดเพชรบุรี และบางพื้นที่เล่าเป็น พระพุทธรูปพี่น้องหกองค์ โดยเพิ่ม หลวงปู่หิน วัดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ด้วย หลวงพ่อโสธรน่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรฯมาตั้งแต่
ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ในราวรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) หรือประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปหินทรายประกอบสมัยอยุธยาตอนต้น
(อู่ทองรุ่นที่ 2 ) ประทับบนพุทธบังลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ อันเป็นรูปแบบที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนปลาย รวมถึงพระพุทธรูปบริวารอีก10 องค์ที่ประดิษฐานรวม
กันบนชุกชี ก็มีพุทธลักษณะแบบ อยุธยาเช่นเดียวกัน โดยจำนวน 2 ใน 10 องค์นั้นเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างขึ้นจากไม้มงคล มีพุทธลักษณะค่อนมาทางอยุธยาตอนปลาย
ต่างจากพระพุทธรูปบริวารอีก 8 องค์ ที่สร้างขึ้นจากหินทรายซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนต้นทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดโสธรฯและองค์หลวงพ่อโสธรน่าจะตั้งอยู่
บริเวณบ้านโสธรนี้มาเป็นเวลาช้านานและมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในยุคสมัยต่อมา เดิมที วัดนี้ก็ชื่อโสธร ตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์
เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธร ไม่ได้กล่าวถึงตำนานหลวงพ่อโสธรเลย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2416
พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมือง มาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลา
และขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธร ทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง โดยกลุ่มช่างที่บูรณะ มาจากเมืองพนมสารคาม
หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ส่วนตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำมานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มชาวมอญแถววัดโสธรที่
นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร
พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดโสธรฯ ในงานประจำปีของวัดโสธรฯ และนำไปเสก ณ วัดหนองเขิน จ.ชลบุรี และนำเข้าเสกอีกวาระหนึ่ง ณ สถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ จ.ฉะเชิงเทรา
สร้างหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด องค์ใหญ่ ณ สถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ ต.คลองขุด อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
พระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนฺทรเมโธ ผจล.วัดโสธรวราราม พระอารามหลวง,ประธานสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ (หลวงปู่ทวดบูรพา)
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้