เหรียญพระศรีศากยะทศพลญาณ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี 39 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Special Coupon (24 Apr - 23 May 25)

เหรียญพระศรีศากยะทศพลญาณ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี 39


รหัสสินค้า  640040010
false
false
false
false
true
true

เหรียญพระศรีศากยะทศพลญาณ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี 39

รหัสสินค้า 640040010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย เจริญรุ่งเรือง
  • ร่วมสมทบทุนบูรณะพุทธมณฑล และสมทบเงินเข้ากองทุนพุทธมณฑล
  • พระเกจิคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
  • มวลสารศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ
฿ 79

ใช้ได้ตั้งแต่  10/11/2023 - 26/04/2025
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (กxยxส) 3x4x0.1 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.01 กก.

เหรียญพระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี 39 (พระศรีศากยะทศพลญาณ) 

พระเกจิ : พระเกจิคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร

ชื่อวัด : สำนักงานพุทธมณฑล

พุทธคุณ : เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย เจริญรุ่งเรือง

เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อโลหะ

ขนาดวัตถุมงคล : 2.5x3x0.1 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

เหรียญพระศรีศากยะทศพลญาณ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ พระประธานพุทธมณฑล นครปฐม ปี 2539 

เนื้อทองแดง สร้างเป็นเป็นเหรียญที่ระลึก ในหลวงรัชกาลที่ 9 ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี

เหรียญพระศรีศากยะทศพลญาณ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ เป็นพระปางลีลา ซึ่งมีความเชื่อกันว่าดีเลิศทางความเจริญก้าวหน้า 

พุทธลักษณะ พระอริยาบถก้าวพระบาทดำเนิน ยกส้นพระบาทขวา พระกรขวาอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น

เสมอพระอุระป้องไปข้างหน้า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์นั้น พระอินทร์เนรมิตบันไดสามบันได

เพื่อทรงพระดำเนิน ได้แก่ บันได้ทองข้างซ้ายสำหรับพระอินทร์ บันได้แก้วซึ่งอยู่ตรงกลางสำหรับพุทธดำเนิน 

และบันได้เงินข้างขวาสำหรับพระพรหม นอกจากหมายถึงเหตุการณ์เมื่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์แล้ว 

พระพุทธรูปปางลีลา อาจเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนอื่น ๆ เช่น พระพุทธองค์เสด็จจาริกสั่งสอนเผยแพร่พระพุทธศาสนา 

พระพุทธคุณ เชื่อในเมตตามหานิยม สิริมงคล ตลอดจนมีโภคทรัพย์ มีความก้าวหน้าในอาชีพการงานและชีวิต 

มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย ทำสิ่งใดก็จะสัมฤทธิ์ผลทุกประการ

 

พระศรีศากยะทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

พระศรีศากยะทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เป็นปูชนียวัตถุสำคัญที่คณะกรรมการจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ได้กำหนดให้สร้างขึ้น ณ ใจกลางพุทธมณฑล การออกแบบพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลเป็นผลงานของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ซึ่งได้เลือกสร้างเป็นพระพุทธรูปปางลีลา โดยมีพระเกตุมาลาเป็นเปลวสูงเหนือพระเศียร ทรงห่มจีวรเฉวียงบ่า พาดสังฆาฏิ อยู่ในท่าย่างพระบาท พร้อมทั้งมีดอกบัวรองรับพระบาท

พระศรีศากยะทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงามตามหลักศิลปะและพุทธศาสนา โดยเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพุทธมณฑลและเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชน การออกแบบและการก่อสร้างได้รับการดูแลอย่างละเอียดเพื่อให้เป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่และสง่างาม สืบทอดคุณค่าแห่งพระพุทธศาสนา

 

กระบวนการก่อสร้างและวัสดุ พระศรีศากยะทศพลญาณ

การก่อสร้างพระพุทธรูปใช้วิธีการหล่อสำริดทั้งองค์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความประณีตอย่างสูง การหล่อสำริดประกอบด้วยชิ้นโลหะจำนวน ๑๓๗ ชิ้น ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้:

ทองแดง ๘๐ เปอร์เซ็นต์

ดีบุก ๑๐ เปอร์เซ็นต์

สังกะสี ๗ เปอร์เซ็นต์

ตะกั่วนม ๓ เปอร์เซ็นต์

น้ำหนักรวมของพระพุทธรูปอยู่ที่ ๑๗,๕๔๓ กิโลกรัม (๑๗.๕๔๓ ตัน) โดยมีขนาดความสูง ๒,๕๐๐ กระเบียด หรือประมาณ ๑๕.๘๗๕ เมตร

 

การออกแบบแท่นประดิษฐาน พระศรีศากยะทศพลญาณ

ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้ออกแบบแท่นประดิษฐานของพระพุทธรูปให้มีพื้นที่ยาวไปทางด้านหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งเป็นท่าย่างพระบาท เสมือนว่าพระพุทธองค์กำลังทรงพระดำเนินไปข้างหน้า โดยแท่นฐานรองรับประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้:

บัลลังก์และฐานปัทม์: ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักที่ช่วยรองรับความมั่นคงขององค์พระพุทธรูป โดยจำลองให้เสมือนว่า เมื่อเสด็จลงจากบัลลังก์แล้วจะทรงยืนบนฐานปัทม์ ก่อนจะก้าวไปบนฐานเขียง

ฐานเขียง: เป็นฐานที่รองรับบัลลังก์อีกชั้นหนึ่ง ยาวออกไปด้านหน้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอาสนสงฆ์ มีบันไดสำหรับให้พระพุทธองค์ก้าวลงหนึ่งขั้นก่อนถึงชาลา

ชาลา: เป็นพื้นที่สำหรับพุทธศาสนิกชนในการชุมนุมนมัสการและเดินชมองค์พระพุทธรูป โดยมีบันไดขึ้นลงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

พิธีกรรมสำคัญและการก่อสร้าง

การปั้นและหล่อองค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลเริ่มขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๕๐๐ และแล้วเสร็จในปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ โดยมีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:

วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ (วันวิสาขบูชา): พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองพระเกตุมาลา หลังการหล่อพระพุทธรูปแล้วเสร็จ: ได้ดำเนินการเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นสูง ๓ ชั้น โดยใช้งบประมาณก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๖๑,๕๓๐,๐๐๐ บาท

วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เพื่อทรงประกอบพิธีสมโภชพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ซึ่งถือเป็นการเปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้และเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้อย่างเป็นทางการ

 

Amulet

 

Amulet

ภาพ : หนังสือจดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล

 

คาถาบูชาปางพระลีลา พระ25ศตวรรษ

อิติ สุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ

มหาเศรษฐี มีมาธะนัง สุขสวัสดิลาภัง ภะวันตุ เม

 

Amulet

 

พิธีพุทธาภิเษก

- พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

- ร่วมสมทบทุนบูรณะพุทธมณฑล และสมทบเงินเข้ากองทุนพุทธมณฑล

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

- สำนักงานพุทธมณฑล

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

 

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน