เหรียญหลวงพ่อพัฒน์ รุ่น เพชรกลับมังกรนครสวรรค์ เนื้อกะไหล่ทองลงยาเขียว | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Flash M-Stamp

เหรียญหลวงพ่อพัฒน์ รุ่น เพชรกลับมังกรนครสวรรค์ เนื้อกะไหล่ทองลงยาเขียว


รหัสสินค้า  408053010
false
false
false
false
true
true

เหรียญหลวงพ่อพัฒน์ รุ่น เพชรกลับมังกรนครสวรรค์ เนื้อกะไหล่ทองลงยาเขียว

รหัสสินค้า 408053010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • เสริมอำนาจบารมี ปกป้อง กันภัย แคล้วคลาด เดินทางปลอดภัย ร่มเย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ เมตตาค้าขาย
  • แผ่นยันต์จารหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน
  • สมทบทุนสร้างซุ้มประตูวัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์
  • สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี(ท่านเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรฯ) หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน
฿ 500

ใช้ได้ตั้งแต่  19/01/2021 - 09/11/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 2.5 x 3.5 x 0.2 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.01

เหรียญหลวงพ่อพัฒน์ รุ่น เพชรกลับมังกรนครสวรรค์ เนื้อกะไหล่ทองลงยาเขียว

พระเกจิ : สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี(ท่านเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรฯ) หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน

ชื่อวัด : วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์

พุทธคุณ : เสริมอำนาจบารมี ปกป้อง กันภัย แคล้วคลาด เดินทางปลอดภัย ร่มเย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ เมตตาค้าขาย

เนื้อวัตถุมงคล : ทองแดงชุบกะไหล่

ขนาดวัตถุมงคล : 2.5 x 3.5 x 0.2 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.

จำนวนจัดสร้าง : 2500 องค์

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์ “พระครูนิวิฐปุญญากร” หรือ “หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม” วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์พุทธาคม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ ท่านยังเป็นพระเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงรูปหนึ่งของเมืองปากน้ำโพปัจจุบันสิริอายุ 98 ปี พรรษา 74 มีนามเดิม พัฒน์ ก้อนจันเทศ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อ นายพุฒ และ นางแก้ว ช่วงวัยเด็กที่บ้านสระทะเลเกิดภัยแล้ง ครอบครัวจึงอพยพไปทำนาที่บ้านหนองเนิน อ.ท่าตะโก และย้ายไปทำนาที่บ้านหนองหลวง อ.ท่าตะโก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่หลวงพ่อเดิมสร้างเสนาสนะให้วัดหนองหลวง บิดาจึงได้ไปช่วยหลวงพ่อเดิมสร้างวัด และท่าน ยังร่ำเรียนเขียนอ่าน รวมทั้งฝึกหัดท่องคาถาสั้นๆ จากหลวงพ่อเดิม และยังได้ศึกษาภาษาไทย ภาษาขอม จากหลวงตาน้อย ฝึกหัดนั่งสมาธิกับหลวงพ่ออิน อายุ 13 ปี จึงเดินทางกลับมาเรียนหนังสือจนจบชั้น ป.4 ที่วัดสระทะเล อ.พยุหะคีรี โดยไปอยู่กับหลวงลุง ซึ่ง เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ระหว่างไปอยู่ที่วัดหนองหลวงและวัดสระทะเลได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อเทศด้วย พออายุครบเกณฑ์ทหารถูกคัดเลือกเข้าไปเป็นทหารกองประจำการ แต่ขณะที่จะหมดวาระปลดจากทหารเกณฑ์ กลับเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ขึ้นเสียก่อน จึงทำให้ต้องเป็นทหารต่อไปจนอายุ 24 ปี ปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ.2489 จากนั้นเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ที่อุโบสถ วัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดสระทะเล เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม นักธรรมชั้นตรีและชั้นโทไปได้สักระยะ โดยระหว่างนั้นหลวงพ่อเดิมได้ไปสร้างเสนาสนะและอุโบสถอยู่ที่วัดอินทราราม จึงไปเรียน พุทธาคมด้วยเมื่อพบกับหลวงพ่อเดิมที่วัดอินทราราม จึงเริ่มถ่ายสรรพวิชาทั้งกัมมัฏฐานและพุทธาคม โดยให้ไปจำวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน ด้วยขณะนั้นวัดอินทรารามกำลังซ่อมสร้าง เสนาสนะอยู่ จึงไม่สะดวกในการพำนัก จำพรรษา จึงต้องเดินไปเช้าเย็นกลับระหว่างวัดทั้งสอง เรียนวิชาอยู่เกือบสองพรรษาจึงจบ ขณะเดินธุดงค์ไปยังเมืองลับแล ไปพักกับหลวงพ่อชุบ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ หลวงพ่อชุบถ่ายทอดวิชาเมตตามหานิยมให้และขอให้คู่เทศน์ปุจฉา-วิสัชนา คู่กันเป็นระยะหนึ่ง เมื่อถึงเวลาอันสมควรจึงขอลาหลวงพ่อชุบกลับวัดสระทะเล แต่หลวงพ่อชุบกลับขอให้อยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแทนอีก 3 ปี ด้วยหลวงพ่อชุบจะย้ายไปพัฒนาวัดพระยืนพุทธบาทยุคลก่อน จึงต้องอยู่ดูแลวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง 6 ปี จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระทะเล กระทั่งครอบครัวย้ายมาที่ ต.ธารทหาร อ.หนองบัว ประชาชนชาว ต.ธารทหาร และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จึงร่วมกันอาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาส จึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดธารทหาร (ห้วยด้วน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา สำหรับวัดธารทหาร (วัดห้วยด้วน) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2482 แต่เดิมเรียกว่า วัดห้วยด้วน ตามชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากที่บ้านแห่งนี้มีลำคลองเล็กแยกมาจากห้วยน้ำสาดเหนือ และสิ้นสุดคลองลงที่นี่ จึงเรียกกันว่าห้วยด้วน ซึ่งได้เรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน และต่อมาเปลี่ยนเป็น บ้านธารทหาร สืบต่อมาเท่าทุกวันนี้ ด้วยความที่เป็นพระเกจิชื่อดัง จึงเริ่มมีชื่อเสียงอยู่ในศรัทธาของญาติโยมในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจึงมีญาติโยมเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่เข้มขลัง เสริมความเป็นสิริมงคลที่วัดอย่างไม่ขาดสาย

พิธีพุทธาพิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดห้วยด้วน อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

วัดห้วยด้วน1

วัดห้วยด้วน2

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

สมทบทุนสร้างซุ้มประตูวัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

พระครูพิสุทธิวรากร ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อหาปัจจัยสร้างซุ้มประตูวัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน