กำไลพิรอด วิรูปักโขมหาสมบัติ เนื้อเงิน กรรมการ | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
คุ้มกว่า ช่วยค่าครองชีพ (16 - 23 Sep 24)

กำไลพิรอด วิรูปักโขมหาสมบัติ เนื้อเงิน กรรมการ


รหัสสินค้า  671587010
false
false
false
false
true
true

กำไลพิรอด วิรูปักโขมหาสมบัติ เนื้อเงิน กรรมการ

รหัสสินค้า 671587010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • กำไลพิรอดหรือกำไลตะกร้อ เป็นเครื่องรางเก่าแก่มีมาแต่โบราณ มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย กันสัตว์มีพิษเขี้ยวงา ภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ ยังเป็นแหวนเสี่ยงทายอีกด้วย
  • มวลสารเก่าของวัดเจ้าอาม ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย และมวลสารเก่าๆๆจากพันๆๆพิธีของ อ.ลักษณ์ ราชสีห์ และมวลสารเก่า จากเซียนพระชื่อดัง อาทิ อั้ง เมืองชล และผงไม้ช่อฟ้า วัดระฆัง เงินโบราณ สมัยรัชกาลที่ 5 6 7 8 และเงินสกุลต่างๆอีกมากมาย
  • สร้างอาคารปฏิบัติธรรม
฿ 3,299

ใช้ได้ตั้งแต่  20/05/2023 - 20/09/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (กxยxส) 9.5x9.5x5 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.03 กก.

กำไลพิรอด วิรูปักโขมหาสมบัติ เนื้อเงิน กรรมการ

พระเกจิ : พระเถราจารย์ทั่วประเทศ

ชื่อวัด : วัดเจ้าอาม ข.บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

พุทธคุณ : กำไลพิรอดหรือกำไลตะกร้อ เป็นเครื่องรางเก่าแก่มีมาแต่โบราณ มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย กันสัตว์มีพิษเขี้ยวงา ภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ ยังเป็นแหวนเสี่ยงทายอีกด้วย

เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อเงิน

ขนาดวัตถุมงคล : 6.5x1.5x6.5 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.03 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

ลักษณะของกำไลพิรอด

กำไลพิรอดหรือกำไลตะกร้อ เป็นเครื่องรางเก่าแก่มีมาแต่โบราณ มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย กันสัตว์มีพิษเขี้ยวงา ภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ ยังเป็นแหวนเสี่ยงทายอีกด้วย ว่ากันว่าเมื่อใดที่แหวนมีประกายแวววาวสุกปลั่ง แสดงว่าผู้เป็นเจ้าของนั้นมีชะตารุ่งโรจน์ มีโชคลาภ รอดพ้นจากเคราะห์โศกโรคภัย แต่หากกำไลพิรอดหมองคล้ำลงวันใด แสดงว่าเคราะห์ร้ายกำลังมาเยือน จึงเตือนให้ระวัง แต่หากมีกำไลอยู่ อานุภาพของกำไลก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

 

หัวของกำไลพิรอดมีลักษณะเป็นรูปพญานาค นามว่า วิรูปักโขนาคราช มีตำนานเล่าว่า พญานาคเป็นเจ้าทรัพย์ มีสมบัติมาก สามารถเรียกโชคลาภ เรียกทรัพย์ ป้องกันอันตรายให้ร่มเย็นเป็นสุข ค้าขายกำไรงาม มีแต่กำไรไม่ขาดทุน และด้านหางของกำไลมีสัญลักษณ์ของนอโม ตามตำนานเล่ากันว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างหัวนะโมด้วยพิธีกรรมทางพราหมณ์อันสูงส่ง ด้วยการอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามก่อนราชวงศ์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (ราชวงศ์ปัทมวงศ์) จะบังเกิดในนครศรีธรรมราช ซึ่งก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 นะโมคือเงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งคาดว่าต่อเนื่องมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 โดยชื่อนั้นอาจมาจากคำว่า นมะ หรือ นมัส เป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงออกถึงความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า ส่วนสัญลักษณ์ของนะโมในตอนนั้นน่าจะมีความหมายเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย แต่ต่อมาในสมัยราชวงศ์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เปลี่ยนบทบาทของนะโมจากเงินตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเครื่องรางของขลังใช้ป้องกันภยันตราย สำหรับอักขระ นะโม นั้นเป็นอักษรปารวะของอินเดียโบราณเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์แห่งห้วงทะเลใต้ โดยคิดว่า นะโมอาจหมายถึงความนอบน้อม หรือหมายถึงหัวใจของคาถาพุทธศาสนาที่เรากล่าวกันอยู่บ่อยๆ ว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส การสร้างนะโมจะมีพราหมณ์เป็นเจ้าพิธีที่สืบเนื่องเป็นประเพณีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะช่วงก่อนวันสงกรานต์จะมีการสวดภาณยักษ์ขับไล่สิ่งชั่วร้ายและอัญเชิญพระศิวะ พระวิษณุ แลพระพรหมมาสถิตในหัวนะโมแล้วจึงนำไปหว่านรอบเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อป้องกันโรคห่าระบาด คนสมัยนี้จึงนิยมพกติดตัว เพราะมีความเชื่อว่าสามารถพิฆาตโรคภัยหรือโรคระบาดต่างๆให้หายหมดสิ้นไปได้ และสามารถคุ้มครองป้องกันจากโรคภัยไข้เจ็บหรือโรคระบาดต่างๆ ป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆไม่ให้เข้ามาใกล้ได้ อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั้งครอบครัว

 

พิธีพุทธาภิเษก

ประกอบไปด้วย

1.อธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงพ่อทองหล่ำ เจ้าอาวาสวัดเจ้าอาม ณ อุโบสถ

2 นำไปร่วมเสก ณ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567

3.นำไปร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดบางคลาน จ.พิจิตร

4.พิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก ณ อุโบสถวัดเจ้าอาม ในวันที่ 12 เมษายน 2567

5.พิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก เสาร์๕ ณ อุโบสถวัดเจ้าอาม ในวันที่ 13 เมษายน 2567

 

พระเถราจารย์ นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิเช่นฯ

1.หลวงพ่ออ่าง สิริจนฺโท (พระนันทวิริยาภรณ์) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี

2. หลวงพ่อชำนาญ (พระมงคลวโวปการ) วัดชินวรารามวรวิหาร

3.หลวงพ่อบุญยิ่ง (พระครูอุทัยบุญวัชร์) วัดอุทัยโพธาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

4.หลวงพ่อคำนวณ (พระครูสมุห์คำนวณ ปริสุทฺโธ) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม

5.หลวงพ่อปืน (พระครูปลัดสราวุธ ปญฺญาวุโธ) วัดลาดชะโด จ.พระนครศรีอยุธยา

6.หลวงพ่อนารถ (พระครูศรีธรรมาภรณ์) วัดแจ้งเจริญ อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี

7.หลวงพ่อสมบูรณ์ (พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์) วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร

8.หลวงปู่ทองล่ำ ยโสธโร (พระครูนิวิฐสาธุวัตร) วัดเจ้าอาม กรุงเทพมหานคร

9.หลวงพ่อวีระ จนฺทูปโม (พระครูสุคนธกิจจานุยุต) วัดหอมศีล จ.สมุทรปราการ

10.พระปลัดวิชาญ ปวโร วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี

11.หลวงพ่อโสต สิริธมฺโม วัดเขาหินโคร่ง จ.จันทบุรี

12.หลวงพ่อธงชัย (พระครูปริยัติศีลการ) วัดครุฑ กรุงเทพมหานคร

13.หลวงพ่อเสก (พระครูอาทรกิจจานุกิจ) วัดกุนนทีรุทธาราม กรุงเทพมหานคร

14.หลวงพ่อสายันต์ (พระครูวิสุทธิธรรมโฆส) วัดไทร จ.นครปฐม

15.หลวงพ่อโชคดี (พระครูวศินปริยัตยากร) วัดไก่เตี้ย กรุงเทพมหานคร

16.หลวงพ่อจงรัก (พระครูสาครพัฒนกิจ) วัดน่วมกานนท์ จ.สมุทรสาคร

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

สร้างอาคารปฏิบัติธรรม

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

วัดเจ้าอาม ข.บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

 

หมายเหตุ

ลักษณะของกำไลพิรอด

กำไลพิรอดหรือกำไลตะกร้อ เป็นเครื่องรางเก่าแก่มีมาแต่โบราณ มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย กันสัตว์มีพิษเขี้ยวงา ภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ ยังเป็นแหวนเสี่ยงทายอีกด้วย ว่ากันว่าเมื่อใดที่แหวนมีประกายแวววาวสุกปลั่ง แสดงว่าผู้เป็นเจ้าของนั้นมีชะตารุ่งโรจน์ มีโชคลาภ รอดพ้นจากเคราะห์โศกโรคภัย แต่หากกำไลพิรอดหมองคล้ำลงวันใด แสดงว่าเคราะห์ร้ายกำลังมาเยือน จึงเตือนให้ระวัง แต่หากมีกำไลอยู่ อานุภาพของกำไลก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

 

หัวของกำไลพิรอดมีลักษณะเป็นรูปพญานาค นามว่า วิรูปักโขนาคราช มีตำนานเล่าว่า พญานาคเป็นเจ้าทรัพย์ มีสมบัติมาก สามารถเรียกโชคลาภ เรียกทรัพย์ ป้องกันอันตรายให้ร่มเย็นเป็นสุข ค้าขายกำไรงาม มีแต่กำไรไม่ขาดทุน และด้านหางของกำไลมีสัญลักษณ์ของนอโม ตามตำนานเล่ากันว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างหัวนะโมด้วยพิธีกรรมทางพราหมณ์อันสูงส่ง ด้วยการอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามก่อนราชวงศ์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (ราชวงศ์ปัทมวงศ์) จะบังเกิดในนครศรีธรรมราช ซึ่งก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 นะโมคือเงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งคาดว่าต่อเนื่องมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 โดยชื่อนั้นอาจมาจากคำว่า นมะ หรือ นมัส เป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงออกถึงความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า ส่วนสัญลักษณ์ของนะโมในตอนนั้นน่าจะมีความหมายเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย แต่ต่อมาในสมัยราชวงศ์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เปลี่ยนบทบาทของนะโมจากเงินตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเครื่องรางของขลังใช้ป้องกันภยันตราย สำหรับอักขระ นะโม นั้นเป็นอักษรปารวะของอินเดียโบราณเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์แห่งห้วงทะเลใต้ โดยคิดว่า นะโมอาจหมายถึงความนอบน้อม หรือหมายถึงหัวใจของคาถาพุทธศาสนาที่เรากล่าวกันอยู่บ่อยๆ ว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส การสร้างนะโมจะมีพราหมณ์เป็นเจ้าพิธีที่สืบเนื่องเป็นประเพณีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะช่วงก่อนวันสงกรานต์จะมีการสวดภาณยักษ์ขับไล่สิ่งชั่วร้ายและอัญเชิญพระศิวะ พระวิษณุ แลพระพรหมมาสถิตในหัวนะโมแล้วจึงนำไปหว่านรอบเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อป้องกันโรคห่าระบาด คนสมัยนี้จึงนิยมพกติดตัว เพราะมีความเชื่อว่าสามารถพิฆาตโรคภัยหรือโรคระบาดต่างๆให้หายหมดสิ้นไปได้ และสามารถคุ้มครองป้องกันจากโรคภัยไข้เจ็บหรือโรคระบาดต่างๆ ป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆไม่ให้เข้ามาใกล้ได้ อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั้งครอบครัว

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

 

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน