ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 1.5 x 2.3 x 0.6 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.1 |
พระเกจิ : หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ,
หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน, หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง
ชื่อวัด : วัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
พุทธคุณ : เพื่อความเป็นสิริมงคล แคล้วคลาด ปลอดภัย
เนื้อวัตถุมงคล : ผสมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ มวลสารจิตรลดา
ขนาดวัตถุมงคล : 1.5 x 2.3 x 0.6 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.1 กก.
สำหรับประวัติการจัดสร้างพระกำลังแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2539 นั้นทางเพจขอนำเสนอแบ่งออกเป็น 3 ตอนครับโดยที่ในตอนที่ 1 นี้จะขอนำเสนอพระกำลังแผ่นดิน
ที่จัดสร้างโดยโครงการหลวงและบริษัทในเครือ CP ก่อนเป็นลำดับแรก โดยมีประวัติการจัดสร้างตามนี้ พระพุทธนวราชบพิตรนอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่ง
คุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดแห่งพุทธศาสนิกชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นนิมิตหมายแห่งความผูกพัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์
กับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร และพระสมเด็จจิตรลดาซึ่งได้บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงายนั้น ก็ประกอบด้วยวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
อันศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรได้ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธนวราชบพิตรจึงเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 9
พระกำลังแผ่นดิน (จิตรลดา 2)
พระกำลังแผ่นดิน (จิตรลดา 2) สร้างในโอกาสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดิน สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 แห่งราชจักรีวงศ์
ทรงเป็นพุทธมากะและองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนา ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (กาญจนาภิเษก) ใช้มวลสารศักดิ์สิทธิ์(มวลสารจิตรลดา)สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
เสด็จทรงประกอบพิธีเททอง และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร) เสด็จฯ ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัยพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2539 เวลา 15.19 น.
พระชุดนี้ออกแบบคล้ายพิมพ์จิตรลดาดั้งเดิม ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ครองราชย์ 50 ปี (กาญจนาภิเษก) ประดิษฐานด้านหลังองค์พระ
วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปก่อสร้างอาคารและซื้อเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
อธิษฐานจิตโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช และพระเถระ พระเกจิคณาจารย์รวม 109 รูป พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์รอบพระอุโบสถอีกกว่า 1,000รูป
โดยรายนามพระเกจิบางส่วนที่ร่วมอธิษฐานจิต
อาทิ พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดเทพธิดาราม พระวิสุทธาธิบดี (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) วัดสุทัศนเทพวราราม หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก
หลวงพ่อทองบัว วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงปู่เจ๊ก วัดระนาม ครูบาน้อย วัดบ้านปง หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขต หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์ เป็นต้น
เป็นพระเก่าเก็บที่ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2539 ทางวัดศรีสุดาราม วรวิหาร ได้เก็บรักษาพระเนื้อผงไว้จำนวนหนึ่ง จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 21 ปี
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๙
โดยพระภาวนาจารย์ ๑๐๙ รูป ซึ่งเป็นการรวมพระมหาเถระผู้ใหญ่และเกจิอาจารย์ดังสมัยปี 40 เกือบทั้งหมดเช่น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง
หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม ฯลฯ
สมทบทุนสร้างหอฉัน อาคารปฏิบัติธรรม พุทธมณฑล
วัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้