ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (กxยxส) 6x7x3 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.03 |
พระเกจิ : พระเกจิคณาจารย์ ชื่อดังหลายรูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
ชื่อวัด : วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
พุทธคุณ : พระปิดตา หรือพระควัม หรือพระควัมปติ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยม หวงแหน และใฝ่หามาบูชากันมาก
เนื้อวัตถุมงคล : ชนวนมวลสารเก่าของทางวัดที่ได้เก็บไว้นานแล้ว และผงพุทธคุณต่างๆๆ ที่ได้เก็บสระสมไว้นานแล้ว
ขนาดวัตถุมงคล : 1.5x2.5x1 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.02 กก.
พระปิดตา หรือพระควัม หรือพระควัมปติ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยม หวงแหน และใฝ่หามาบูชากันมาก ด้วยเชื่อว่าพระปิดตามีพุทธคุณครบถ้วน
ทั้งแคล้วคลาด ปลอดภัย และพุทธคุณทางเมตตา ค้าขาย โชคลาภ อย่างหลังคือ พุทธคุณทางเมตตานั้นมีความศรัทธามาก
ตามตำนานว่า พระควัมปติหมายถึง พระสังกัจจายนะ
พระปิดตา คือ พระพุทธรูปขนาดเล็ก หรือพระเครื่อง ลักษณะขององค์พระท่านเป็นการยกพระหัตถ์ ปิดพระพักตร์ (ปิดรวม ตา หู จมูก ปาก)
พระปิดตามี 3 ประเภทคือ พระปิดตาชนิดปิดตานั่งยอง พระปิดตาชนิดปิดตานั่งขัดสมาธิยกหัตถ์ปิดทวารทั้งเก้า และพระปิดตาชนิดปิดตา
นั่งขัดสมาธิ ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์ เว้นส่วนอื่น พระปิดตา มีประวัติว่าเป็นอัครสาวกองค์หนึ่ง ชื่อพระควัมปติ หรือพระมหากัจจายนะ
แสดงออกถึงนัยยะแห่งธรรม และผู้ศรัทธาเชื่อกันว่า สามารถดลบันดาลโชคลาภ เงินทอง มีกินมีใช้สมบูรณ์พูนสุข ส่วนที่มีการปิดทวารทั้งเก้า
ปิดตา หู จมูก ปาก และก้น ที่เรียกว่า มหาอุด เป็นอุปเท่ห์หมายถึง ตอนที่พระภควัมปติท่านกำลังเข้านิโรธสมบัติ ทวารทั้งเก้าก็จะปิดสนิท
ไม่ยินดียินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย เป็นความดับสนิท ของอาสวะกิเลสต่าง ๆ ที่ไม่อาจจะมาแผ้วพานได้เลย อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตราย
ทั้งหลายทั้งปวง ต้นกำเนิดของการสร้างพระปิดตา เชื่อว่ามาจากคติการสร้างพระเครื่องของเขมร เผยแพร่เข้าสู่การสร้างพระเครื่องไทย
พระปิดตาในยุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก
และพระปิดตาอื่น ๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี จนได้รับความนิยมแพร่หลายช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น
พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทอง พระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม
เป็นต้น
พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
เพื่อทำการบูรณะ เสนาสนะ ภายในวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้