ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 1.3 x 2.6 x 1 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.01 |
พระเกจิ : พระมหาเถราจารย์สายล้านนาไทย สายอรัญวาสี สายเกจิขลังดังแห่งยุค สายมหายาน สายฤาษีผู้มีอภิญญาแก่กล้าอธิฐานจิต 9 วัน 9 คืน
ชื่อวัด : วัดมหาวัน จ.ลำพูน
พุทธคุณ : พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อแต่โบราณว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี
เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อว่าน
ขนาดวัตถุมงคล : 1.3 x 2.6 x 1 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.
พระประกอบบุญ สิริญาโณ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน พระรอดหลวงเมื่อแรกพบนั้น ส่วนของพระพาหา (แขน) หักจากลำพระองค์ อยู่ในสภาพคว่ำหน้า จมใต้ชั้นดินลึก
ประมาณ 2 ฟุต สถานที่พบอยู่ใกล้เชิงฐานองค์พระเจดีย์ ด้านหลังพระวิหารหลวงหลังปัจจุบัน สมัยที่อาตมายังเป็นเณรน้อย พระผู้ใหญ่ของวัดมหาวันได้ขุดพระหิน
องค์นี้ขึ้นมา แล้วนำไปซ่อมแซมบูรณะต่อชิ้นส่วนที่แตกหักให้สมบูรณ์ จากนั้นจึงอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานภายในวิหาร ชาวบ้าน เมื่อได้เห็นนิยมเรียก
กันว่า “พระรอดหลวง” บ้างเรียก “แม่พระรอด”ราว 30 กว่าปีที่แล้ว นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรเคยมาตรวจสอบโบราณวัตถุ ได้บอกแก่ทางวัดว่า พระหินองค์นี้
มีความเก่าแก่มาก อายุราว 1,000 ปีเศษ เป็นศิลปะสมัยทวารวดี”เมื่อพินิจพิเคราะห์พุทธลักษณะของพระรอดหลวงหรือแม่พระรอดองค์ดังกล่าว พบว่าเป็นศิลปะแบบ
ทวารวดีก็จริงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะเฉพาะของหริภุญไชยที่ ไม่พบในศิลปะแบบทวารวดีทั่วไป แต่พระรอดหลวงองค์นี้ กลับทำกรอบประภามณฑลเป็น
ทรงสามเหลี่ยมเรียวแหลม ซ้ำจัดวางรัศมี (ที่ถูกเรียกว่ากลีบโพธิ์) แบบเป็นระเบียบมีจังหวะ ปลายใบโพธิ์ที่พลิกนั้น พินิจให้ดีๆ จะพบว่ามีลักษณะคล้ายกับเ ศียรนาค
เล็กน้อยส่วนของรัศมีรายรอบพระวรกายของพระรอดหลวงองค์นี้นี่เอง ที่ทำให้มองโดยรวมแล้ว หลายคนเชื่อว่าเป็นต้นเค้าปรกโพธิ์ให้แก่พระพิมพ์องค์จิ๋ว รุ่นพระรอด
มหาวันแล้วพระรอดหลวงองค์นี้ควรมี อายุในช่วงพุทธศตวรรษที่เท่าไหร่กันแน่ ในเมื่อองค์พระพระพุทธรูปดูเก่าแบบทวารวดี (ตามที่ชาวบ้านเรียกว่า “มือแปเท้าแป”)
ยุคต้นๆ จนถึงยุคกลางราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ทว่า รัศมีรายรอบพระวรกายภาย ใต้กรอบทรงแหลมสูงนั้น กลับชวนให้คิดว่าน่าจะมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัย
ปาละอยู่ไม่น้อย ซึ่งศิลปะปาละมีอายุอยู่ระหว่างช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-18 กว่าอิทธิพลของปาละจะเดินทางผ่านอาณาจักรพุกามเ ข้าสู่หริภุญไชย
ควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 ศตวรรษ
วันที่ 16 ธค.62 พระประกอบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน ผู้สืบทอดตำราสร้างพระรอดมหาวัน ลำพูน เจริญพรในเมตตาบารมีธรรมพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่บัวเกตุ
องค์เททอง เทแล้วนำเข้าเกจิดังร่วมอธิฐานจิต มณฑลพิธีวิหารหลวง วัดมหาวันมีเพื่อสมทบทุนขยายที่ดินวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน นอกจากนี้ทางวัดได้รับความ
เมตตาจากพระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม วัดประดู่ พระเกจิผู้มากบารมีธรรมลุ่มแม่น้ำท่าจีน เมตตาจุดเทียนชัยยะมงคล
พระรอด พระรอดหลวง ท้าวเวสสุวรรณ ธนบดีเศรษฐีเจ้าทรัพย์ วัดมหาวัน รุ่น1 วาระแรก และเมตตาธรรมเจ้าสล่าหลวงอูวิชัยยะ วัดกองมูคำ เขมรัฐนครเชียงตุง
สังฆราชาฝ่ายไทใหญ่(แห่งรัฐฉานฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาละวิน) ในพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก พระรอดหลวง ท้าวเวสสุวรรณเศรษฐีเจ้าทรัพย์ รุ่น1 วัดมหาวัน
จังหวัดลำพูนในเมตตาบารมีธรรมพระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เมตตาในพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก พระรอดหลวง
ท้าวเวสสุวรรณเศรษฐีเจ้าทรัพย์ รุ่น1 วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวันเสาร์ที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา เวลา09.00น.
หาปัจจัยเพื่อสร้างเสนาสนะวัดมหาวัน จ.ลำพูน
วัดมหาวัน จ.ลำพูน
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้