พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
คุ้มกว่า ช่วยค่าครองชีพ (16 - 23 Sep 24)

พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55


รหัสสินค้า  457095010
false
false
false
false
true
true

พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55

รหัสสินค้า 457095010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • โชคลาภ ค้าขาย เมตตา แคล้วคลาด ปลอดภัย เสริมสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข
  • ชนวนมวลสารพระเกจิคณาจารย์ มวลสารเก่า แผ่นจารย์อักขระยันต์พระเกจิ
  • สร้างห้องสมุดและสถานปฏิบัติธรรมรัตนธรรมสถาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ ๙๑ บ้านห้วยโจด ต. หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย
  • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และพระเกจิคณาจารย์หลายรูป
฿ 199

ใช้ได้ตั้งแต่  13/07/2021 - 20/09/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 2.5 x 3.7 x 0.7 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.01

พระสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 99 พระชันษา เนื้อผง ปี 55

พระเกจิ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และพระเกจิคณาจารย์หลายรูป

ชื่อวัด : นำออกให้เช่าบูชาโดย พระครูสท้าน วรรณพิมพ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธคุณ : โชคลาภ ค้าขาย เมตตา แคล้วคลาด ปลอดภัย เสริมสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข

เนื้อวัตถุมงคล : ผง

ขนาดวัตถุมงคล : 2.5 x 3.7 x 0.7 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร พระนามเดิม เจริญ ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) 

เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร 

ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี 

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต 

การศึกษาพระปริยัติธรรม พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ 

ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ 

โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 

แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน 

หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร[6] พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 

และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473[7] พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค 

แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก 

ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว 

ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก 

เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475[7] 

หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา 

แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น 

พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี พ.ศ. 2484

 

พิธีพุทธาพิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร

 

วัดบวร5

 

ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ


ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนาราวันตบพิตร

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

สร้างห้องสมุดและสถานปฏิบัติธรรมรัตนธรรมสถาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ ๙๑ บ้านห้วยโจด ต. หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

นำออกให้เช่าบูชาโดย พระครูสท้าน วรรณพิมพ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน