ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 3.5 x 6 x 0.5 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.1 |
พระเกจิ : พระเกจิคณาจารย์หลายรูป
ชื่อวัด : วัดพระบรมธาตุพระอารามหลวง นครชุม จ.กำแพงเพชร
พุทธคุณ : เสริมสิริมงคล แคล้วคลาด กันภัย มหาอุตม์ เสริมดวงชะตา เมตตาค้าขาย กระทำการสิ่งใดสำเร็จทุกประการ
เนื้อวัตถุมงคล : ดิน
ขนาดวัตถุมงคล : 3.5 x 6 x 0.5 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.1 กก.
จำนวนจัดสร้าง : 327 องค์
พระพิมพ์เมืองกำแพงเพชร องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร คำว่า “พระพิมพ์” หมายถึง รูปเคารพขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป หรืออาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการนำวัสดุต่างๆ เช่น ดินเหนียวมากดประทับลงบนแม่พิมพ์ หรือถ้าเป็นเนื้อโลหะจะใช้โลหะที่หลอมละลายเทหล่อเข้ากับแบบพิมพ์ พระพิมพ์ในยุคแรก ๆ มักสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกจากการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ แห่งในประเทศอินเดีย คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่ปฐมเทศนา (สารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา) หรือสร้างขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในทางพระศาสนา เช่น การสืบทอดพระพุทธศาสนา หรือการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การสร้างพระพิมพ์ในเมืองกำแพงเพชรนั้น สันนิษฐานว่า มีมานับแต่สมัยสุโขทัย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙) นิยมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ว่าน (ดินผสมว่าน) ชินเงิน (ตะกั่วผสมดีบุก) ดินเผา ซึ่งพระราชนิพนธ์ เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุว่า “....เมืองกำแพงเพชรต้องนับว่าเป็นเมืองเคราะห์ร้ายที่มีชื่อเสียงแล้วว่า มีพระพิมพ์ดี มีอภินิหารต่าง ๆ กันศาสตราวุธ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ...พระกำแพงก็คงต้องเป็นสิ่งที่มีราคาอยู่ตราบนั้น และสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่ควรรักษาไว้เป็นอนุสาวรีย์ของชาติจะยังคงถูกทำลายลงเพราะความโลภของผู้ขุดพระและความหลงของ “คนเก่ง” ที่ต้องการพระนั้น...” จึงเห็นได้ว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรเป็นที่นับถือในพุทธคุณด้านโชคลาภและการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ จึงเป็นที่ต้องการของคนทั่วไปนับแต่อดีต พระพิมพ์จากกรุในเมืองกำแพงเพชรที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ๑. พระพิมพ์กรุเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) พระพิมพ์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย พระพิมพ์ที่มีชื่อเรียกตามรูปร่าง (เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ) หรือจำนวนพระที่แทรกในพระพิมพ์ (เช่น พระกำแพงห้าร้อย) หรือเรียกชื่อตามซุ้มครอบองค์พระ (เช่น พระกำแพงซุ้มกอ) ซึ่งมีที่มาจากกรุโบราณสถานหลายแห่ง ได้แก่ กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดพระสี่อิริยาบถ กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดอาวาสน้อย ฯลฯ ๒. พระพิมพ์กรุนครชุม (กรุทุ่งเศรษฐี) พระพิมพ์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย พระพิมพ์ที่มีชื่อเรียกตามรูปร่าง (เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบบัว) หรือเรียกตามอิริยาบถ (เช่น พระกำแพงเปิดโลก พระกำแพงลีลา พระกำแพงบิด) นอกจากนี้ยังมีพระกำแพงซุ้มกอ พระนางกำแพง พระยอดขุนพล ฯลฯ พระพิมพ์เหล่านี้มาจากกรุต่าง ๆ ได้แก่ กรุวัดพระบรมธาตุ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุซุ้มกอ กรุบ้านเศรษฐี ฯลฯ บรรณานุกรม - กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๗. - กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๔๐. - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๖.
พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระบรมธาตุพระอามรามหลวง
นำวัตถุมงคลเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตลอดไตรมาส 2559
ณ พระอุโบสถ วัดพระบรมธาตุ (พระอารามหลวง) จ.กำแพงเพชร
นำวัตถุเข้าร่วมพิธีเสาร์ห้า วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐
ณ พระอุโบสถ วัดพระบรมธาตุ (วัดอารามหลวง) จ.กำแพงเพชร
สมทบทุนสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลศพ วัดพระบรมธาตุพระอามรามหลวง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
วัดพระบรมธาตุพระอารามหลวง นครชุม จ.กำแพงเพชร
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้