สมเด็จพระไพรีพินาศ ซุ้มตื้น ญสส. วัดบวร ปี 33 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
คุ้มกว่า ช่วยค่าครองชีพ (16 - 23 Sep 24)

สมเด็จพระไพรีพินาศ ซุ้มตื้น ญสส. วัดบวร ปี 33


รหัสสินค้า  444098010
false
false
false
false
true
true

สมเด็จพระไพรีพินาศ ซุ้มตื้น ญสส. วัดบวร ปี 33

รหัสสินค้า 444098010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • พระไพรีพินาศ เป็นพระนามของพระพุทธรูป ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ เก๋งบนชั้นสองด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร อานุภาพยิ่งใหญ่ กำราบศัตรูพ่ายสิ้น พระไพรีพินาศ
  • มวลสารของพระไพรีพินาศ ได้แก่ ผงมวลสาร ผงพุทธคุณ มวลสารเก่าวัดบวรนิเวศ
  • นำออกให้เช่าบูชาโดย พระครูสท้าน วรรณพิมพ์ วัดบวรนิเวศวิหาร
  • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
฿ 399

ใช้ได้ตั้งแต่  25/05/2021 - 20/09/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 2.3 x 3.4 x 0.6 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.01

สมเด็จพระไพรีพินาศ ซุ้มตื้น ญสส. วัดบวร ปี 33

พระเกจิ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ชื่อวัด : นำออกให้เช่าบูชาโดย พระครูสท้าน วรรณพิมพ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธคุณ : อานุภาพยิ่งใหญ่ กำราบศัตรูพ่ายสิ้น พระไพรีพินาศ

เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อผง

ขนาดวัตถุมงคล : 2.3 x 3.4 x 0.6 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

ประวัติ พระไพรีพินาศ ประวัติการสร้าง พระไพรีพินาศ นั้นไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่ามีผู้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช และประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอานุภาพ

กำจัดภัย ให้ผู้ที่คิดร้ายพ่ายแพ้พระบารมี เรื่องมีอยู่ว่า นับตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นต้นมา ได้มีผู้ไม่หวังดีกลั่นแกล้งต่างๆ นานา 

โดยเจตนาจะไม่ให้ได้รับราชสมบัติ ที่เห็นชัดก็คือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใกล้จะเสด็จสวรรคต มีผู้ไปทูลอ้างรับสั่งให้ไปเฝ้า 

เมื่อเสด็จไปก็ถูกกักบริเวณให้อยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๗ วัน ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนวางแผน ก็คือ กรมหลวงรักษ์รณเรศ 

ซึ่งทำตัวเป็นหัวเรือใหญ่ กีดกันไม่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้ราชสมบัติ ท่านผู้นี้เคยแกล้งพระธรรมยุตที่เข้าไปรับบาตรในวัง โดยแกล้งเอา

ข้าวต้มร้อนๆ ใส่บาตร บาตรเหล็กถูกของร้อนก็ร้อนไปด้วย พระทนความร้อนไม่ได้ก็ต้องโยนบาตรทิ้ง และกรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นคน

มักใหญ่ใฝ่สูง จนถึงคิดจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเองถ้ารัชกาลที่ ๓ สวรรคต ทั้งยังเคยเจรจามั่นหมายไว้ว่า ถ้ามีวาสนาใหญ่โตจะมีสิทธิ์ขาด

ในแผ่นดินแล้ว ก็จะทำลายล้างสิ่งที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทำไว้จนหมดสิ้น เผอิญมีผู้ทำฎีกากล่าวโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศด้วยข้อหาร้ายแรงหลายเรื่อง 

โปรดให้ชำระมีความผิดฉกรรจ์ จึงโปรดให้ลงพระราชอาชญาแล้วให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๑ กล่าวกันว่า

ในเวลาใกล้เคียงกับที่กรมหลวงรักษ์รณเรศถูกสำเร็จโทษนั้น มีคนอัญเชิญพระพุทธรูปศิลาแบบมหายาน ปางนั่งประทานอภัย มาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ 

ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นนิมิตหมายว่าหมดศัตรูแล้ว ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติได้ประมาณ ๒ ปี คือ พ.ศ. ๒๓๙๖ 

ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เนื่องจากทรงหลุดพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรูเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงนับถือกันว่า 

“พระไพรีพินาศ” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อันบันดาลให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด ปัจจุบัน พระไพรีพินาศ ประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มเก๋งด้านทิศเหนือของพระเจดีย์

ประธานของวัดบวรนิเวศวิหาร ในหนังสือศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหารได้กล่าวถึงเจดีย์ที่สร้างเก๋งประดิษฐานพระไพรีพินาศไว้ตอนหนึ่งว่า พระเจดีย์ไพรีพินาศ

เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นบรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในเจดีย์ใหญ่

วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซมพระเจดีย์ได้พบกระดาษขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า 

"พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนไว้ว่า "เพราะตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ" 

 

คาถาบูชา พระไพรีพินาศ ( พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ) 

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สุจิรัง ปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโนทานิ ปาระมีหิ จะ ทิสสะติ ยาวะชีวัง 

อะหัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คะโต ปูเชมิ ระตะนัตตะยัง ธัมมัง จะรามิ โสตถินาฯ 

คำแปล คาถาบูชา พระไพรีพินาศ แปลเป็นภาษาไทย โดย พระมหานายก (ฉลอง ชลิตกิจโจ) สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเสด็จดับขันธ

ปรินิพพานมาช้านานแล้ว แต่ก็ยังทรงปรากฏดำรงอยู่ในบัดนี้ โดยพระคุณและพระบารมีทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้า ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ 

เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต บูชาอยู่ซึ่งพระรัตนตรัย ขอประพฤติธรรม โดยสวัสดี เทอญ ฯ

 

พิธีพุทธาพิเษก

พิธีพุทธาภิเษกพระไพรีพินาศ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) 

ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร

 

วัดบวร5

ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ


ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนาราวันตบพิตร

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

บำรุงเสนาสนะ

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

วัดบวรนิเวศวิหาร

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน