เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช หลังภปร.เนื้อกะใหล่ทอง วัดบวรฯ ปี 29 | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
คุ้มกว่า ช่วยค่าครองชีพ (16 - 23 Sep 24)

เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช หลังภปร.เนื้อกะใหล่ทอง วัดบวรฯ ปี 29


รหัสสินค้า  474074010
false
false
false
false
true
true

เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช หลังภปร.เนื้อกะใหล่ทอง วัดบวรฯ ปี 29

รหัสสินค้า 474074010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล แคล้วคลาด ปลอดภัย เจริญด้วยลาภยศ อำนาจ บารมี
  • ชนวนมวลสารพระเกจิคณาจารย์ มวลสารเก่า แผ่นจารย์อักขระยันต์พระเกจิ
  • หาปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถดิน ณ วัดสิงห์ทอง จ.ยโสธร
  • พระเกจิคณาจารย์หลายรูป
฿ 1,299

ใช้ได้ตั้งแต่  28/09/2021 - 20/09/2024
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 2.5 x 3.1 x 0.2 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.01

เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช หลังภปร.เนื้อกะใหล่ทอง วัดบวรฯ ปี29

พระเกจิ : พระเกจิคณาจารย์หลายรูป

ชื่อวัด : ให้เช่าบูชาโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธคุณ : บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล แคล้วคลาด ปลอดภัย เจริญด้วยลาภยศ อำนาจ บารมี

เนื้อวัตถุมงคล : กะไหล่

ขนาดวัตถุมงคล : 2.5 x 3.1 x 0.2 ซม.

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

เหรียญรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช หลังภปร.วัดบวรนิเวศ ปี 2529

เหรียญเนื้อกะใหล่ทอง จัดสร้างเพื่อนำเงินรายได้สร้างตึก ภปร ให้กับทางโรงพยาบาลจุฬาฯ

เหรียญเนื้อทองแดง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นการส่วนพระองค์ และสมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราชทรงประทานมาให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อบำรุงสาธารณกุศลอีกทอด

สร้างปี พ.ศ. 2529 เพื่อนำเงินรายได้สร้างตึก ภปร ให้กับทางโรงพยาบาลจุฬาฯ

เรียกว่าเป็นเหรียญรุ่น 2 รูปเหมือนของสมเด็จพระญาณสังวร

เหรียญ รุ่น 2 สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2529 สมเด็จพระสังฆราชท่านได้รับพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบมาจากเหรียญรุ่นแรก(พ.ศ.2528) ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาออกแบบ และได้พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อภปร.มาประดิษฐานไว้ที่ด้านหลัง นับเป็นสิริมงคลคู่อันประเสริฐสุด ยากจะหาเหรียญรูปเหมือนพระคณาจารย์ใดเสมอเหมือนได้

จะแตกต่างกัน ก็เพียงแต่เปลี่ยนประโยคหลังเหรียญ "3 ตุลาคม 2528" ในรุ่นแรกมาเป็น "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย"เท่านั้น แต่ส่วนอื่น ล้วนมีความเหมือนกันในทุกประการ

เหรียญรุ่นนี้ยังได้เข้าร่วมพิธีกริ่งปวเรศ 2 ของปี 2530 อันโด่งดังทั้งที่วัดบวรนิเวศวิหาร (2 วาระ) และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)

พิธีพุทธาภิเษกเป็นมหาพิธีใหญ่

พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 1 ในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต โดยมีพระคณาจารย์สำคัญร่วมนั่งปรกด้วยดังนี้

1.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร
3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
4.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
5.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี
6.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี
7.พระครูสันติวรณาญ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
8.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก
9.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
10.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
11. พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
12.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี
13.พระครูมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา จ.ปทุมธานี
14.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
15.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
16.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
17.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
18.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
19.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี
20.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม
21.พระครูอาทรธรรนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
22. พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
23. พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี
24. พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี
25. พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
26. หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
27.หลวงพ่อพลู วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
28. พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
29. พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
30. พระครูวิจิตธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง
31. พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ
32. พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม
33. พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม
34. พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม
35. พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
36. พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร

พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ-พฤหัสบดีที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี

พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต และมีพระอัจฉริยคณาจารย์สำคัญจากทั่งประเทศร่วมนั่งปรกเจริญจิตภาวนาอันมี

1 . สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
2. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
3. พระมงคลราชมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
4. พระราชพุทธิรังษี วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
5. พระสุนทรธรรมภาณี วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
6. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จังหวัดนครราชสีมา
7. พระโพธิสังวรเถร วัดโพธินิมิตร กรุงเทพมหานคร
8. พระอุดมสังวรเถร วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี
9. พระภาวนาพิศาลเถร วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
10.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด
11.พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
12.พระสุธรรมยานเถร วัดจันทาราม จังหวัดอุทัยธานี
13.พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
14.พระครูประสิทธิ์ภาวนาคุณ วัดนิคมประชาสรรค์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
15.พระสังวรสมาธิวัตร วัดเภตราสุขารมณ์ จังหวัดระยอง
16. พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
17.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
18.พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี

องค์นี้เป็นเหรียญรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช หลังภปร.เนื้อกะใหล่ทอง วัดบวรนิเวศ ปี 2529 สุดสวย พิธีดีน่าบูชามาก จัดสร้างเพื่อนำเงินรายได้สร้างตึก ภปร ให้กับทางโรงพยาบาลจุฬาฯ

 

พิธีพุทธาพิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร

 

วัดบวร5

 

ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ


ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนาราวันตบพิตร

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

หาปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถดิน ณ วัดสิงห์ทอง จ.ยโสธร

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

ให้เช่าบูชาโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย วัดบวรนิเวศวิหาร

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน