ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ | (ก x ย x ส) 3.5 x 5 x 1.5 ซม. |
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ | 0.01 |
พระเกจิ : ได้นำวัตถุมงคลเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกของวัดโสธรฯ และได้เสกที่สถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ มีพระเกจิชื่อดังหลายรูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ,พระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนทรเมโธ ผจล.เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร ,ประธานสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ
ชื่อวัด : พระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนฺทรเมโธ ผจล.วัดโสธรวราราม พระอารามหลวง,ประธานสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ (หลวงปู่ทวดบูรพา)
พุทธคุณ : ด้านเมตตา แคล้วคลาดปลอดภัย ค้าขายโชคลาภ
เนื้อวัตถุมงคล : เนื้อทองแดง
ขนาดวัตถุมงคล : 1.7x2.5x0.2 ซม.
น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.01 กก.
หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทราและประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร
อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับ
พระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา ตำนานหลวงพ่อโสธรนั้น ตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ทราบตามที่เล่าต่อๆ กันมาแต่เพียงว่า
ในจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของไทยมีพระภิกษุสามองค์พี่น้อง เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานแล้วก็จำแลงกายเป็นพระพุทธรูป เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น
ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือกมนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้ เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอย
ทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยนและเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้ ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก
ชาวบ้านก็พยายามฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่าบางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดง อภินิหารในคลองเล็กๆ
ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป จวบจนองค์หนึ่งได้ลอยไปจนถึง
แม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงครามชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูป
ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือ ของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม าจนทุกวันนี้ องค์ที่สองได้ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์
เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วย ทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่
ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลง ส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็นวัดโสธร ประชาชน
พลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ ผู้รู้คนหนึ่งสำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและ
วิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของ พระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลาก
ขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า
พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมาส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่
แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้
จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง สมุทรปราการประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่
ในตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก อีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน บางตำนานได้เล่าว่ามีพระพุทธรูปพี่น้องอยู่ห้าองค์
อีกสององค์คือ หลวงพ่อไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ หลวงพ่อ(ทอง)เขาตะเครา วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี และบางพื้นที่เล่าเป็น พระพุทธรูปพี่น้องหกองค์
โดยเพิ่ม หลวงปู่หิน วัดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ด้วย หลวงพ่อโสธรน่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรฯมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ในราวรัชกาลสมเด็จ
พระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) หรือประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปหินทรายประกอบสมัยอยุธยาตอนต้น(อู่ทองรุ่นที่ 2 ) ประทับบนพุทธ
บังลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ อันเป็นรูปแบบที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนปลาย รวมถึงพระพุทธรูปบริวารอีก10 องค์ที่ประดิษฐานรวมกันบนชุกชี
ก็มีพุทธลักษณะแบบ อยุธยาเช่นเดียวกัน โดยจำนวน 2 ใน 10 องค์นั้นเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างขึ้นจากไม้มงคล มีพุทธลักษณะค่อนมาทางอยุธยาตอนปลาย
ต่างจากพระพุทธรูปบริวารอีก 8 องค์ ที่สร้างขึ้นจากหินทรายซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนต้นทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดโสธรฯและองค์หลวงพ่อโสธร
น่าจะตั้งอยู่บริเวณบ้านโสธรนี้มาเป็นเวลาช้านานและมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในยุคสมัยต่อมา เดิมที วัดนี้ก็ชื่อโสธร ตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐาน
ที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธร ไม่ได้กล่าวถึงตำนานหลวงพ่อโสธรเลย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมือง
มาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธร ทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง
โดยกลุ่มช่างที่บูรณะ มาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ส่วนตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำมานั้น
สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มชาวมอญแถววัดโสธรที่ นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร
ในปัจจุบันผู้คนยังเคารพนับถือหลวงพ่อโสธร นิยมบูชาพระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร เหรียญหลวงพ่อโสธร ทุกรุ่น เพื่อความเป็นสิริมงคล
พิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดโสธรฯ ในงานประจำปีของวัดโสธรฯ และนำเข้าเสกอีกวาระหนึ่ง ณ สถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ จ.ฉะเชิงเทรา
สร้างหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด องค์ใหญ่ ณ สถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ ต.คลองขุด อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
พระครูธรรมธร ดร.มนตรี สุนฺทรเมโธ ผจล.วัดโสธรวราราม พระอารามหลวง,ประธานสถานปฏิบัติธรรมสามหลวงพ่อ (หลวงปู่ทวดบูรพา)
1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน
2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น
3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้